พาน้องหมาไปอเมริกา (กันยายน 2559)
ผู้เขียนและลูกชายเคยมีประสบการณ์จากการนำน้องหมาไปอยู่อเมริกา เมื่อปลายปี 2559 และนำกลับเข้ามาในประเทศไทยในต้นปี 2560 จากประสบการณ์ที่ได้มาอาจจะเป็นประโยชน์กับผู้อ่านได้บ้าง อย่างไรก็ตาม ก่อนการเดินทางช่วยหาข้อมูลเพิ่มเติมอีกทีนะคะ
ผู้เขียนและลูกชายเคยมีประสบการณ์จากการนำน้องหมาไปอยู่อเมริกา เมื่อปลายปี 2559 และนำกลับเข้ามาในประเทศไทยในต้นปี 2560 จากประสบการณ์ที่ได้มาอาจจะเป็นประโยชน์กับผู้อ่านได้บ้าง อย่างไรก็ตาม ก่อนการเดินทางช่วยหาข้อมูลเพิ่มเติมอีกทีนะคะ
น้องหมาชื่อน้อง "ไข่ตุ๋น" สายพันธ์ ชิวาวา มีน้ำหนักแค่ 2.7 กิโลกรัม น้องหมาเดินทางพร้อมเจ้าของและนั่งไปบนเครื่องได้ เพราะ น้ำหนักน้องหมาและกระเป๋ารวมกันแล้วไม่เกิน 5 ก.ก หากเกินกว่านี้ต้อง Load ใต้เครื่องค่ะ
ก่อนออกเดินทางต้องหาข้อมูลและกฎต่าง ๆ อยู่หลายเรื่อง เช่น
กฎของการนำน้องหมาออกจากประเทศไทย
กฎของการนำน้องหมาเข้าไปในประเทศอเมริกา
กฎของสายการบินที่ยอมให้นำน้องหมาขึ้นเครื่องได้
การฉีดวัคซีนต่าง ๆ ให้น้องหมา
การฝังไมโครชิพ และ
การหาขนาดกรงหรือกระเป๋าสำหรับใส่น้องหมาขึ้นเครื่อง
การหาขนาดกรงหรือกระเป๋าสำหรับใส่น้องหมาขึ้นเครื่อง
กฎของการนำสัตว์เลี้ยงออกจากประเทศไทย หาได้จาก ด่านกักกันสัตว์ท่าอากาศยานสุวรรณภูมิ (Suvarnabhumi Airport Animal Quarantine) ซึ่งมีสำนักงานตั้่งอยู่ที่
อาคารตรวจสินค้าขาออก เขตปลอดอากร ชั้น 1
โทรศัพท์ 02-1340731
แฟกซ์ 02 134 3640
Email: qsap_bkk@dld.go.th
เวลาทำการ จันทร์-ศุกร์ 0830-1200 น. และ 1300-1630 น.
เมื่อได้รายละเอียดต่าง ๆ จากด่านกักกันสัตว์มาแล้ว จึงได้รีบหาข้อมูลว่ามีสายการบินอะไรบ้างที่อนุญาติให้นำน้องหมาขึ้นเครื่องได้ สุดท้ายได้ตัดสินใจไปกับสายการบินเกาหลี เพราะเค้าอนุญาติให้นำน้องหมาไปอเมริกาได้โดยไม่ต้องฝังไมโครขิพ (เดี๋ยวนี้มีกฎออกมาใหม่ว่าต้องฝังไมโครชิพด้วย) จึงรีบจองตั๋วเครื่องบินล่วงหน้าก่อนการเดินทางเป็นเวลาเกือบ 2 เดือน เนื่องจากสายการบินเกาหลีจะอนุญาติให้นำสัตว์เลี้ยงขึ้นเครื่องไปกับผู้โดยสารได้ไม่เกิน 4 ตัวต่อเที่ยวบิน (จำนวนสัตว์เลี้ยงที่จะนำขึ้นเครื่องของแต่ละสายการบินจะไม่เท่ากัน ต้องตรวจสอบการสายการบินนั้น ๆ อีกครั้งค่ะ) ทางสายการบินจะขออนุญาติไปกับทางสำนักงานใหญ่ในต่างประเทศของเค้าก่อนว่าจะอนุญาติหรือไม่
เมื่อได้อนุญาติแล้ว ก็รีบมาดูเรื่องการฉีดวัคซีนต่าง ๆ ว่ามีอะไรบ้างที่ต้องทำ และที่สำคัญเรื่องกรงใส่น้องหมา ต้องมีขนาดที่ทางสายการบินอนุญาติ เพราะถ้ากรงใหญ่หรือสูงเกินที่เค้ากำหนด ก็จะนำขึ้นเครื่องไม่ได้ เนื่องจากเค้าให้เราวางกระเป๋าน้องหมาไว้ใต้ที่นั่งของคนที่นั่งหน้าเรา กระเป๋าจึงต้องสอดเข้าไปใต้ที่นั่งได้ หลังจากที่ได้ขนาดมาจากสายการบิน ผู้เขียนก็ได้รีบไปซื้อกระเป๋าและเสื้อผ้าน้องหมาสำหรับใช้เดินทางมาเตรียมไว้ให้เรียบร้อย
Email: qsap_bkk@dld.go.th
เวลาทำการ จันทร์-ศุกร์ 0830-1200 น. และ 1300-1630 น.
เมื่อได้รายละเอียดต่าง ๆ จากด่านกักกันสัตว์มาแล้ว จึงได้รีบหาข้อมูลว่ามีสายการบินอะไรบ้างที่อนุญาติให้นำน้องหมาขึ้นเครื่องได้ สุดท้ายได้ตัดสินใจไปกับสายการบินเกาหลี เพราะเค้าอนุญาติให้นำน้องหมาไปอเมริกาได้โดยไม่ต้องฝังไมโครขิพ (เดี๋ยวนี้มีกฎออกมาใหม่ว่าต้องฝังไมโครชิพด้วย) จึงรีบจองตั๋วเครื่องบินล่วงหน้าก่อนการเดินทางเป็นเวลาเกือบ 2 เดือน เนื่องจากสายการบินเกาหลีจะอนุญาติให้นำสัตว์เลี้ยงขึ้นเครื่องไปกับผู้โดยสารได้ไม่เกิน 4 ตัวต่อเที่ยวบิน (จำนวนสัตว์เลี้ยงที่จะนำขึ้นเครื่องของแต่ละสายการบินจะไม่เท่ากัน ต้องตรวจสอบการสายการบินนั้น ๆ อีกครั้งค่ะ) ทางสายการบินจะขออนุญาติไปกับทางสำนักงานใหญ่ในต่างประเทศของเค้าก่อนว่าจะอนุญาติหรือไม่
เมื่อได้อนุญาติแล้ว ก็รีบมาดูเรื่องการฉีดวัคซีนต่าง ๆ ว่ามีอะไรบ้างที่ต้องทำ และที่สำคัญเรื่องกรงใส่น้องหมา ต้องมีขนาดที่ทางสายการบินอนุญาติ เพราะถ้ากรงใหญ่หรือสูงเกินที่เค้ากำหนด ก็จะนำขึ้นเครื่องไม่ได้ เนื่องจากเค้าให้เราวางกระเป๋าน้องหมาไว้ใต้ที่นั่งของคนที่นั่งหน้าเรา กระเป๋าจึงต้องสอดเข้าไปใต้ที่นั่งได้ หลังจากที่ได้ขนาดมาจากสายการบิน ผู้เขียนก็ได้รีบไปซื้อกระเป๋าและเสื้อผ้าน้องหมาสำหรับใช้เดินทางมาเตรียมไว้ให้เรียบร้อย
กระเป๋าน้องหมาวางอยู่ด้านล่าง ต้องสอดกระเป๋าไว้ใต้เก้าอี้คนนั่งหน้าก่อนเครื่องออก |
ระหว่างนั้นก็ฝึกให้น้องหมาได้คุ้นเคยกับกระเป๋าที่ซื้อมา แต่ยิ่งฝึกเท่าไร น้องหมาก็ไม่ยอมอยู่ในกระเป๋าใบนั้น กระโดดเข้าไปและก็รีบออกมา ยิ่งใกล้วันเดินทางเข้ามาทุกที น้องหมาก็ไม่ยอมเข้าไปอยู่ในกระเป๋าอยู่ดี ผู้เขียนเองก็ได้เรียนตัดเสื้อผ้า และ ทำงานฝีมือกระเป๋าแฮนด์เมดมา จึงตัดสินใจทำกระเป๋าน้องหมาขึ้นมาเอง โดยทำรูปทรงสี่เหลี่ยมเพื่อได้มีเนื้อที่กว้าง มีความโปร่งใส 3 ด้าน อีกด้านที่เหลือก็ทำเป็นฝาปิดด้านข้าง มีซิปรูดปิดเปิดได้ เผื่อว่าน้องหมาอยากนอนเหยียดยาวระหว่างอยู่บนเครื่องก็ได้นอนสบาย ส่วนด้านบนก็ทำให้โปร่งใสเพื่อน้องหมาจะได้มองเห็นเราได้ พร้อมทั้งปักชื่อน้องหมาไว้ที่กระเป๋าด้วยเพื่อป้องกันการพลัดหลง โชคดีค่ะ ปรากฎว่าน้องหมาชอบ พอวางกระเป๋าเค้าก็รีบกระโดดเข้าไปนอนเพราะคิดว่าเราจะพาเค้าออกเที่ยวข้างนอก
กระเป๋าใส่น้องไข่ตุ๋นขณะเดินทาง |
ฝากระเป๋าด้านหน้าช่วยให้น้องหมาได้นอนเหยียดตัวสบายมากขึ้น |
ปักตัวการ์ตูนน้องหมาใส่ไว้นิดนึง พร้อมปักชื่อ |
ส่วนเสื้อน้องหมาที่ซื้อมา 2-3 ตัว เป็นเหมือนผ้าขนหนูและผ้ายืด พอมาใส่ดูแล้วก็บางเกินไป คงไม่อุ่นพอกับระยะเวลาเดินทางที่ต้องอยู่บนเครื่องนาน ผู้เขียนไม่รู้จะทำยังไงดี หาซื้อเสื้อหนา ๆ ก็ไม่มี ก็อีกนั่นแหละค่ะ ผู้เขียนได้เรียนตัดเสื้อผ้าคนมาแล้ว จึงตัดสินใจตัดเสื้อผ้าน้องหมาเอง โดยมีผ้าชิ้นนอกและใส่แผ่นใยตรงกลางและมีซับในอีกชั้น มีฮู๊ดสวมหัวอีกด้วย และตบแต่งให้สวยงามตามใจฉัน แถมปักชื่อน้อง Kaitoon อีกด้วย
1. นำสุนัขไปฉีดวัคซีน 3 ชนิดนี้ ก่อนการเดินทาง 30 วัน
(ถ้าเป็นเข็มแรก) แต่ถ้าเป็นเข็มที่ 2 ไม่ต้องครบ 30 วันก็ได้(1) วัคซีนรวม (สำหรับสุนัขและแมว)
(2) วัคซีนพิษสุนัขบ้า (Rebisin) (สำหรับสุนัขและแมว)
(3) วัคซีนป้องกันโรคฉี่หนู (Leptospirosis)
(สำหรับสุนัขเท่านั้น แมวไม่ต้องฉีดวัคซีนนี้)
(2) นำสัตว์ไปฝังไมโครชิพ การฝังไมโครชิพจำเป็นมาก เพื่อป้องกันปัญหาต่าง ๆ ในภายหลัง ผู้เขียนได้เจอปัญหานี้กับตัวเอง เนื่องจากตอนที่เดินทางออกไป ไม่ได้ฝังไมโครชิพให้น้องหมา เพราะไม่อยากให้เค้าเจ็บตัวและสาเหตุอื่น ๆ อีก ประกอบกับทางอเมริกาก็ไม่ได้บังคับด้วย ตอนเดินทางออกไปก็ไม่มีปัญหาอะไร ทางด่านกักกันสัตว์ของไทยและทางด่านตรวจคนเข้าเมืองที่อเมริกาก็ไม่มีปัญหาอะไร แต่ที่มีปัญหาก็คือขากลับที่นำน้องหมากลับมาไทย เนื่องจากหลังจากที่ผู้เขียนเดินทางออกจากประเทศไทยไปแล้วเดือนกว่า ๆ ทางประเทศไทยได้มีประกาศเป็นราชกิจจานุเบกษาออกมาเมื่อวันที่ 16 ตุลาคม 2558 และมีผลบังคับใช้หลังจากนั้น 30 วัน ว่าการที่จะสัตว์เลี้ยงเข้ามาในราชอาณาจักร ต้องฝังไมโครชิพ (ดูรายละเอียดเรื่องการนำสุนัขเข้ามาในราชอาณาจักรไทยนะคะ)
(3) รีบจองตั๋วเครื่องบินของเจ้าของสุนัขกับทางสายการบินก่อนเนิ่น ๆ และแจ้งว่าจะนำสัตว์เลี้ยงขึ้นเครื่องไปด้วย เพื่อเป็นการจองที่ให้สัตว์เลี้ยงล่วงหน้า จำเป็นต้องจองแน่เนิ่น ๆ เพราะ ทางสายการบินต้องส่งเรื่องขออนุญาติให้ทางสำนักงานใหญ่ในต่างประเทศของเค้าอนุมัติก่อน จึงจะนำสัตว์เลี้ยงขึ้นเครื่องได้ เพราะแต่ละสายการบินจะมีข้อกำหนดว่าให้นำสัตว์หิ้วขึ้นเครื่องไปกับเราได้ไม่เท่ากัน เช่น ของ Korean Airlines ให้ไม่เกิน 4 ตัว ต่อเที่ยวบิน (ได้ยินมาว่าถ้าเป็น TG ให้ไม่เกิน 2 ตัว)
การนำสัตว์เลี้ยงหิ้วติดตัว (pet in cabin) มีข้อกำหนดว่า น้ำหนักของสัตว์ รวมกับกระเป๋า ต้องไม่เกิน 5 กิโลกรัม ถ้าเกิน 5 กก ต้องโหลดใต้เครื่องเท่านั้น
- กระเป๋าที่ใส่สัตว์ หรือ กรงใส่สัตว์ แต่ละสายการบินจะมีข้อกำหนดอีกว่า ถ้าหิ้วติดตัว จะต้องมี ความกว้าง ความยาว ความสูง เท่าไร ต้องโทรเช็คกับสายการบินที่เราจะไปก่อน ก่อนที่จะไปซื้อกระเป๋าหรือกรงใส่สัตว์เลี้ยง
- ค่าตั๋วสัตว์เป็นเงิน $200 จ่ายที่เค้าเตอร์ check in ในวันที่เราเดินทาง (เป็นเงินสดหรือบัตรเครดิตก็ได้)
(4) ก่อนการเดินทาง 3 วัน ให้เจ้าของนำสุนัขและเอกสารที่เกี่ยวข้อง ไปขอ Export License and Health Certificate ที่ด่านกักกันสัตว์สุวรรณภูมิ
การนำสัตว์เลี้ยงหิ้วติดตัว (pet in cabin) มีข้อกำหนดว่า น้ำหนักของสัตว์ รวมกับกระเป๋า ต้องไม่เกิน 5 กิโลกรัม ถ้าเกิน 5 กก ต้องโหลดใต้เครื่องเท่านั้น
- กระเป๋าที่ใส่สัตว์ หรือ กรงใส่สัตว์ แต่ละสายการบินจะมีข้อกำหนดอีกว่า ถ้าหิ้วติดตัว จะต้องมี ความกว้าง ความยาว ความสูง เท่าไร ต้องโทรเช็คกับสายการบินที่เราจะไปก่อน ก่อนที่จะไปซื้อกระเป๋าหรือกรงใส่สัตว์เลี้ยง
- ค่าตั๋วสัตว์เป็นเงิน $200 จ่ายที่เค้าเตอร์ check in ในวันที่เราเดินทาง (เป็นเงินสดหรือบัตรเครดิตก็ได้)
(4) ก่อนการเดินทาง 3 วัน ให้เจ้าของนำสุนัขและเอกสารที่เกี่ยวข้อง ไปขอ Export License and Health Certificate ที่ด่านกักกันสัตว์สุวรรณภูมิ
เอกสารที่ต้องเตรียมไปมีดังนี้
(1) หนังสือเดินทาง (Passport) ของเจ้าของสุนัข พร้อมสำเนา (2) เอกสารการจองตั๋วเครื่องบินของเจ้าของสุนัข
(3) สมุดประวัติการฉีดวัคซีนตัวจริง พร้อมสำเนา
(4) เอกสารการฝังไมโครชิพ พร้อมสำเนา
หมายเหตุ
สมุดประวัติการฉีดวัคซีน ต้องมีที่อยู่ของเจ้าของสุนัข (ควรเป็นภาษาอังกฤษ) พร้อมทั้ง Sticker ของวัคซีนแต่ละชนิด พร้อมลายเซ็นต์จริงของคุณหมอด้วยค่ะ
ทางด่านจะให้เจ้าของสุนัขเขียนเอกสารการยื่นคำขออนุญาตินำสัตว์ออก (แบบ ร.1/1) และตรวจสุขภาพสุนัข พร้อมทั้งให้เจ้าของผู้ที่เดินทางถ่ายรูปกับสุนัขเป็นหลักฐาน หลังจากสัตว์แพทย์ได้ตรวจเอกสารและสุขภาพสุนัขเรียบร้อยแล้ว ถ้าไม่มีปัญหาเรื่องสุขภาพของสัตว์ ทางด่านจะออกหนังสือให้ 2 ฉบับ คือ
(1) ใบอนุญาตนำสัตว์หรือซากสัตว์ออกนอกราชอาณาจักร (Export Licence) (แบบ ร. ๙) (ภาษาไทย)
(2) Veterinary Health Certificate - ภาษาอังกฤษ (เอกสารใบนี้จะมีรายละเอียดชื่อเจ้าของสุนัข สายพันธ์สุนัข วันเกิด สี เพศ ของตัวสัตว์ รวมทั้งประวัติการฉีดวัคซีนต่าง ๆ ซึ่งข้อมูลทั้งหมดนี้ เราจำเป็นต้องเก็บไว้ให้ดี เพื่อจะใช้เป็นข้อมูลตอนเดินทางกลับเข้ามาประเทศไทยในภายหลัง)
หนังสือทั้ง 2 ฉบับนี้จะมีอายุการใช้งานได้ไม่เกิน 10 วัน
(ทางด่านจะให้ต้นฉบับและสำเนา ให้เรานำต้นฉบับไปยื่นให้ทางสายการบินในวันเดินทาง และเก็บสำเนาไว้เอง)
เอกสารข้อมูลการนำสุนัขกลับเข้ามาไทยในภายหลัง (เก็บไว้ใช้ขากลับ) |
เอกสารที่ทางสายการบิน korean Air ออกให้ |
เราต้องนำหนังสือต้นฉบับทั้ง 2 ฉบับแรกที่ได้จากด่านกักกันสัตว์ ไปแสดงที่เคาน์เตอร์เช็คอินของสายการบินในวันเดินทาง พร้อมทั้งจ่ายเงินค่าตั๋วให้สุนัข เป็นเงิน US$ 200 (ใช้เงินสดหรือบัตรเครดิตก็ได้) ทางสายการบินก็จะออกเอกสารของทางสายการบิน พร้อมทั้งแนบใบอนุญาติทั้ง 2 ฉบับนี้ไว้ด้วยกัน ใส่ซองพลาสติก แล้วผูกไว้ที่กระเป๋าน้องหมา เพื่อให้เราถือขึ้นเครื่องและนำไปยื่นให้ด่านตรวจคนเข้าเมืองที่ประเทศอเมริกา (เพื่อความปลอดภัย หลังจากขึ้นเครื่องได้แล้ว ควรแกะซองออกจากกระเป๋าน้องหมา นำมาเก็บไว้ในกระเป๋า Backpack ของเรา ก็จะปลอดภัยกว่า)
ไม่มีความคิดเห็น:
แสดงความคิดเห็น