วันศุกร์ที่ 5 กรกฎาคม พ.ศ. 2562

พาน้องหมาเข้าประเทศไทย (จากอเมริกา)


พาน้องหมาเข้าประเทศไทย (2559-2560)

ผู้เขียนเคยมีประสบการณ์ในการนำน้องหมาไปอยู่อเมริกาเป็นเวลา 6 เดือน และนำกลับเข้ามาในประเทศไทยอีกครั้ง ในช่วงกันยายน 2559 - กุมภาพันธ์ 2560  จากประสบการณ์ดังกล่าวนี้อาจเป็น
ประโยชน์ต่อผู่้ที่คิดจะนำน้องหมาเข้าประเทศไทยได้บ้าง เพราะผู้เขียนก็ได้เจอะเจอปัญหามาพอสมควร

(1)  ตรวจสอบวันหมดอายุของวัคซีนทั้ง  3 ชนิด (วัคซีนรวม, Rebesin และ Leptospirosis) ที่ได้ฉีดไปแล้วจากประเทศไทย ว่าจะหมดอายุเมื่อไร   เพราะมีกฎหมายว่า การที่จะนำสัตว์เข้าราชอาณาจักรไทยต้องได้รับการฉีดวัคซีนทั้ง  3 ชนิดนี้ อย่างน้อย 21 วันก่อนการเดินทาง  มิฉะนั้นทางด่านกักกันสัตว์ที่ไทยจะไม่ออกเอกสาร Import Permit  ให้ รวมทั้งทางสายการบินก็จะไม่ให้เรานำสัตว์ขึ้นเครื่องมาด้วย

แต่ ถ้าเราเคยฉีดเข็มแรกมาแล้ว ต้องดูอีกว่า วัคซีนจะหมดอายุเมื่อไร  ถ้าว้คซีนนี้เหลือวันหมดอายุก่อนวันเดินทางกลับไทยไม่ถึง  21 วัน เราต้องนำสัตว์ไปฉีดกระตุ้นอีกครั้ง ซึ่งการฉีดกระตุ้นนี้ไม่จำเป็นต้องครบ  21 วันก่อนการเดินทางก็ได้ แต่ขอแนะนำว่าควรให้นำสัตว์ไปฉีดก่อนการเดินทางประมาณ 10 วัน ก็จะดี เพื่อสัตว์จะได้แข็งแรง เพราะบางตัวจะมีอาการแพ้วัคซีนบางชนิด

หมายเหตุ  คำว่าให้ฉีดวัคซีนก่อนการเดิงทาง  21 วัน หมายถึงวัคซีนเข็มแรก ในกรณีที่สัตว์ยังไม่เคยได้รับการฉีดมาเลย  แต่ถ้าเคยฉีดเข็มแรกมาแล้ว เข็มที่  2 จึงเป็นการฉีดกระตุ้น ซึ่งไม่จำเป็นต้องครบ  21 วันก่อนการเดินทางก็ได้  ปกติวัคซีนจะมีอายุได้ไม่เกิน 1 ปี

(2) นำสัตว์ไปตรวจสุขภาพที่โรงพยาบาลสัตว์ พร้อมทั้งขอใบ Health Certificate จากโรงพยาบาลด้วย เอกสารนี้นอกจากจะเซ็นต์โดยคุณหมอผู้ที่ได้รับอำนาจจากกระทรวงเกษตรของอเมริกาแล้ว ยังต้องให้เจ้าหน้าที่กระทรวงเกษตรของอเมริกา  USDA (United States of Agriculture) เซ็นต์อีกด้วย โรงพยาบาลบางแห่งจะจัดการทำให้เราทั้งหมดโดยส่งเอกสารไปให้ทาง USDA เอง และให้เราไปรับเอกสารนี้ในภายหลัง ซึ่งจะเสียค่าใช้จ่ายแพงขึ้นนิดหน่อย แต่บางแห่งจะให้เราเป็นผู้ส่งเอกสารให้ทาง USDA เซ็นต์เอง โดยที่หลังจากได้รับใบ Health Certificate แล้ว เราสามารถจัดส่งเอกสารไปให้ USDA โดยทาง UPS (ไปรษณีย์แบบด่วน)ได้ หลังจากที่ USDA เซ็นต์ให้เรียบร้อยแล้วเค้าจะจัดส่งเอกสารกลับมาให้เราอย่างรีบด่วน

(3) ส่งอีเมลถึงด่านกักกันสัตว์สุวรรณภูมิ  ก่อนการเดินทาง 10 วัน หรือ 1-3 สัปดาห์ ก่อนการเดินทาง  พร้อมทั้งแนบใบคำขออนุญาตนำสัตว์/ซากสัตว์ เข้า ออก ผ่าน ราชอาณาจักรไทย (แบบ ร.1/1) ที่กรอกเรียบร้อยแล้ว และเอกสารอื่น ๆ ที่ทางด่านกักกันสัตว์ต้องการ

(4)  หลังจากที่ด่านกักกันสัตว์สุวรรณภูมิได้รับอีเมลแล้ว ทางด่านจะส่งเอกสาร Import Permit (หนังสืออนุญาติให้นำสัตว์เข้ามาในราชอาณาจักรไทย) ให้เราทางอีเมล หนังสือฉบับนี้มีอายุ 60 วัน ให้เรานำเอกสารนี้ติดตัว เพื่อไปแสดงต่อสายการบินและเจ้าหน้าที่ตรวจคนเข้าเมือง เพื่อจะเดินทางออกจากประเทศอเมริกา

(5)  เมื่อเดินทางมาถึงสนามบินสุวรรณภูมิ  จะมีเจ้าหน้าของกรมปศุสัตว์มารอรับเราที่ทางออกด้านในหลังจากออกจากประตูเครื่องบิน และจะนำเราไปที่ด่านกักกันสัตว์ของสนาม เพื่อดำเนินการเรื่องการเสียภาษีและออกเอกสารใบอนุมัตินำสัตว์หรือซากสัตว์เข้าและผ่านราชอาณาจักร เพื่อให้เรานำใบนี้ไปให้ด่านตรวจคนเข้าเมืองต่อไป

สถานที่ติดต่อในประเทศไทย

ด่านกักกันสัตว์ สุวรรณภูมิ
สถานที่ตั้งของ ด่านกักกันสัตว์สุวรรณภูมิ ซึ่งดำเนินการตรวจสุขภาพสัตว์และออกใบอนุญาตนำสัตว์ออกนอกราชอาณาจักร (แบบ ร.9) นั้น ตั้งอยู่ที่ อาคารศุลกากรตรวจสินค้าขาออก (CE-1) เขตปลอดอากร คลังสินค้าท่าอากาศยานสุวรรณภูมิ ชั้น 1
โทร       02 134 0731  
แฟกซ์    02 134 3640
Email:  qsap_bkk@dld.go.th

สถานที่ติดต่อในประเทศสหรัฐอเมริกาที่อยู้ใกล้เมือง Dallas รัฐ Texas
USDA
United States Department of Agriculture (USDA) 
903 San Jacinto
Room 262, Thornberry Federal Building
Austin
Texas 78701
Tel.  1-512-383-2411
Email:  expcerttx@aphis.usda.gov


------------------------------------------------------------------------------------------------------------------------

ข้อความด้านล่างเป็นข้อความที่ผู้เขียนได้คัดลอกมาจากเวบไซค์ของด่านกักกันสัตว์ (เพื่อดูประกอบกับขั้นตอนที่ผู้เขียนลงไว้ด้านบนค่ะ)

การนำสัตว์เลี้ยงเข้ามาในราชอาณาจักรของผู้โดยสารในลักษณะนำเข้ามาพร้อมกับตน

เอกสารที่ต้องนำมาแสดง
1. หนังสือเดินทาง (Passport)
2. หนังสือรับรองสุขภาพสัตว์ (Health Certificate) ต้นฉบับ

ขั้นตอนการนำสัตว์เลี้ยงเข้ามาในราชอาณาจักร

1. ผู้โดยสารเดินทางเข้ามาในราชอาณาจักรถึงท่าอากาศยานสุวรรณภูมิ และ/หรือ ท่าอากาศยานนานาชาติอื่นๆ ผ่านการตรวจลงตราหนังสือเดินทางโดยเจ้าหน้าที่ตรวจคนเข้าเมือง และรับสัมภาระและสัตว์เลี้ยง เช่น สุนัข,แมว

2. ผู้โดยสารนำสัตว์เลี้ยง พร้อมเอกสารที่เกี่ยวข้องตามข้อ 1 ข้างต้น ไปที่ด่านกักกันสัตว์ ณ ท่าอากาศยาน เพื่อขออนุญาตนำสัตว์เลี้ยงเข้ามาในราชอาณาจักร โดยหลังจากสัตวแพทย์ประจำด่านตรวจสอบเอกสารและสัตว์เลี้ยงดังกล่าวแล้วไม่พบว่าเป็นโรคระบาดหรือพาหะของโรคระบาด จะดำเนินการออกใบอนุญาตนำสัตว์เข้ามาในราชอาณาจักร (แบบ ร.7) ให้แก่ผู้โดยสาร

3. ผู้โดยสารนำสัตว์เลี้ยงและใบอนุญาตฯ (แบบ ร.7) จากกรมปศุสัตว์ มาแสดงต่อเจ้าหน้าที่ศุลกากร ณ ช่องตรวจมีสิ่งของต้องสำแดง (Goods to declare) เพื่อชำระค่าภาษีอากรและรับใบเสร็จรับเงิน

 เอกสารสำหรับการขอ Import permit : 

1. สำเนา passport ของผู้เดินทาง หรือผู้ที่ทำการนำเข้าสัตว์เลี้ยง
2. ที่อยู่ประเทศต้นทาง และที่อยู่ที่ประเทศไทย
3. รายละเอียดของสัตว์เลี้ยง (เช่น พันธุ์, เพศ, อายุ, สี, microchip เป็นต้น)
4. เอกสารการฉีดวัคซีน (rabies vaccination etc.) ก่อนการเดินทางอย่างน้อย 21 วัน
5. รูปภาพของสัตว์เลี้ยง
6. รายละเอียดการเดินทาง (วัน, เวลา, flight ที่จะถึงประเทศไทย)
7.  ชื่อสนามบินที่ใช้ในการส่งออกสัตว์เลี้ยง
8. ไมโครชิฟ  **จำเป็น**
9. แนบเอกสาร ร.1-1

** สัตว์เลี้ยงทุกตัวที่นำเข้าประเทศไทยต้องได้รับการฝังไมโครชิพค่ะ **
- ส่วนเรื่องใบรับรองสุขภาพที่ต้องนำมายื่นต้องขอออกจากรัฐบาลโดยประเทศนั้นๆค่ะ 













ไม่มีความคิดเห็น:

แสดงความคิดเห็น