วันศุกร์ที่ 5 กรกฎาคม พ.ศ. 2562

พาน้องหมาเข้าประเทศไทย (จากอเมริกา)


พาน้องหมาเข้าประเทศไทย (2559-2560)

ผู้เขียนเคยมีประสบการณ์ในการนำน้องหมาไปอยู่อเมริกาเป็นเวลา 6 เดือน และนำกลับเข้ามาในประเทศไทยอีกครั้ง ในช่วงกันยายน 2559 - กุมภาพันธ์ 2560  จากประสบการณ์ดังกล่าวนี้อาจเป็น
ประโยชน์ต่อผู่้ที่คิดจะนำน้องหมาเข้าประเทศไทยได้บ้าง เพราะผู้เขียนก็ได้เจอะเจอปัญหามาพอสมควร

(1)  ตรวจสอบวันหมดอายุของวัคซีนทั้ง  3 ชนิด (วัคซีนรวม, Rebesin และ Leptospirosis) ที่ได้ฉีดไปแล้วจากประเทศไทย ว่าจะหมดอายุเมื่อไร   เพราะมีกฎหมายว่า การที่จะนำสัตว์เข้าราชอาณาจักรไทยต้องได้รับการฉีดวัคซีนทั้ง  3 ชนิดนี้ อย่างน้อย 21 วันก่อนการเดินทาง  มิฉะนั้นทางด่านกักกันสัตว์ที่ไทยจะไม่ออกเอกสาร Import Permit  ให้ รวมทั้งทางสายการบินก็จะไม่ให้เรานำสัตว์ขึ้นเครื่องมาด้วย

แต่ ถ้าเราเคยฉีดเข็มแรกมาแล้ว ต้องดูอีกว่า วัคซีนจะหมดอายุเมื่อไร  ถ้าว้คซีนนี้เหลือวันหมดอายุก่อนวันเดินทางกลับไทยไม่ถึง  21 วัน เราต้องนำสัตว์ไปฉีดกระตุ้นอีกครั้ง ซึ่งการฉีดกระตุ้นนี้ไม่จำเป็นต้องครบ  21 วันก่อนการเดินทางก็ได้ แต่ขอแนะนำว่าควรให้นำสัตว์ไปฉีดก่อนการเดินทางประมาณ 10 วัน ก็จะดี เพื่อสัตว์จะได้แข็งแรง เพราะบางตัวจะมีอาการแพ้วัคซีนบางชนิด

หมายเหตุ  คำว่าให้ฉีดวัคซีนก่อนการเดิงทาง  21 วัน หมายถึงวัคซีนเข็มแรก ในกรณีที่สัตว์ยังไม่เคยได้รับการฉีดมาเลย  แต่ถ้าเคยฉีดเข็มแรกมาแล้ว เข็มที่  2 จึงเป็นการฉีดกระตุ้น ซึ่งไม่จำเป็นต้องครบ  21 วันก่อนการเดินทางก็ได้  ปกติวัคซีนจะมีอายุได้ไม่เกิน 1 ปี

(2) นำสัตว์ไปตรวจสุขภาพที่โรงพยาบาลสัตว์ พร้อมทั้งขอใบ Health Certificate จากโรงพยาบาลด้วย เอกสารนี้นอกจากจะเซ็นต์โดยคุณหมอผู้ที่ได้รับอำนาจจากกระทรวงเกษตรของอเมริกาแล้ว ยังต้องให้เจ้าหน้าที่กระทรวงเกษตรของอเมริกา  USDA (United States of Agriculture) เซ็นต์อีกด้วย โรงพยาบาลบางแห่งจะจัดการทำให้เราทั้งหมดโดยส่งเอกสารไปให้ทาง USDA เอง และให้เราไปรับเอกสารนี้ในภายหลัง ซึ่งจะเสียค่าใช้จ่ายแพงขึ้นนิดหน่อย แต่บางแห่งจะให้เราเป็นผู้ส่งเอกสารให้ทาง USDA เซ็นต์เอง โดยที่หลังจากได้รับใบ Health Certificate แล้ว เราสามารถจัดส่งเอกสารไปให้ USDA โดยทาง UPS (ไปรษณีย์แบบด่วน)ได้ หลังจากที่ USDA เซ็นต์ให้เรียบร้อยแล้วเค้าจะจัดส่งเอกสารกลับมาให้เราอย่างรีบด่วน

(3) ส่งอีเมลถึงด่านกักกันสัตว์สุวรรณภูมิ  ก่อนการเดินทาง 10 วัน หรือ 1-3 สัปดาห์ ก่อนการเดินทาง  พร้อมทั้งแนบใบคำขออนุญาตนำสัตว์/ซากสัตว์ เข้า ออก ผ่าน ราชอาณาจักรไทย (แบบ ร.1/1) ที่กรอกเรียบร้อยแล้ว และเอกสารอื่น ๆ ที่ทางด่านกักกันสัตว์ต้องการ

(4)  หลังจากที่ด่านกักกันสัตว์สุวรรณภูมิได้รับอีเมลแล้ว ทางด่านจะส่งเอกสาร Import Permit (หนังสืออนุญาติให้นำสัตว์เข้ามาในราชอาณาจักรไทย) ให้เราทางอีเมล หนังสือฉบับนี้มีอายุ 60 วัน ให้เรานำเอกสารนี้ติดตัว เพื่อไปแสดงต่อสายการบินและเจ้าหน้าที่ตรวจคนเข้าเมือง เพื่อจะเดินทางออกจากประเทศอเมริกา

(5)  เมื่อเดินทางมาถึงสนามบินสุวรรณภูมิ  จะมีเจ้าหน้าของกรมปศุสัตว์มารอรับเราที่ทางออกด้านในหลังจากออกจากประตูเครื่องบิน และจะนำเราไปที่ด่านกักกันสัตว์ของสนาม เพื่อดำเนินการเรื่องการเสียภาษีและออกเอกสารใบอนุมัตินำสัตว์หรือซากสัตว์เข้าและผ่านราชอาณาจักร เพื่อให้เรานำใบนี้ไปให้ด่านตรวจคนเข้าเมืองต่อไป

สถานที่ติดต่อในประเทศไทย

ด่านกักกันสัตว์ สุวรรณภูมิ
สถานที่ตั้งของ ด่านกักกันสัตว์สุวรรณภูมิ ซึ่งดำเนินการตรวจสุขภาพสัตว์และออกใบอนุญาตนำสัตว์ออกนอกราชอาณาจักร (แบบ ร.9) นั้น ตั้งอยู่ที่ อาคารศุลกากรตรวจสินค้าขาออก (CE-1) เขตปลอดอากร คลังสินค้าท่าอากาศยานสุวรรณภูมิ ชั้น 1
โทร       02 134 0731  
แฟกซ์    02 134 3640
Email:  qsap_bkk@dld.go.th

สถานที่ติดต่อในประเทศสหรัฐอเมริกาที่อยู้ใกล้เมือง Dallas รัฐ Texas
USDA
United States Department of Agriculture (USDA) 
903 San Jacinto
Room 262, Thornberry Federal Building
Austin
Texas 78701
Tel.  1-512-383-2411
Email:  expcerttx@aphis.usda.gov


------------------------------------------------------------------------------------------------------------------------

ข้อความด้านล่างเป็นข้อความที่ผู้เขียนได้คัดลอกมาจากเวบไซค์ของด่านกักกันสัตว์ (เพื่อดูประกอบกับขั้นตอนที่ผู้เขียนลงไว้ด้านบนค่ะ)

การนำสัตว์เลี้ยงเข้ามาในราชอาณาจักรของผู้โดยสารในลักษณะนำเข้ามาพร้อมกับตน

เอกสารที่ต้องนำมาแสดง
1. หนังสือเดินทาง (Passport)
2. หนังสือรับรองสุขภาพสัตว์ (Health Certificate) ต้นฉบับ

ขั้นตอนการนำสัตว์เลี้ยงเข้ามาในราชอาณาจักร

1. ผู้โดยสารเดินทางเข้ามาในราชอาณาจักรถึงท่าอากาศยานสุวรรณภูมิ และ/หรือ ท่าอากาศยานนานาชาติอื่นๆ ผ่านการตรวจลงตราหนังสือเดินทางโดยเจ้าหน้าที่ตรวจคนเข้าเมือง และรับสัมภาระและสัตว์เลี้ยง เช่น สุนัข,แมว

2. ผู้โดยสารนำสัตว์เลี้ยง พร้อมเอกสารที่เกี่ยวข้องตามข้อ 1 ข้างต้น ไปที่ด่านกักกันสัตว์ ณ ท่าอากาศยาน เพื่อขออนุญาตนำสัตว์เลี้ยงเข้ามาในราชอาณาจักร โดยหลังจากสัตวแพทย์ประจำด่านตรวจสอบเอกสารและสัตว์เลี้ยงดังกล่าวแล้วไม่พบว่าเป็นโรคระบาดหรือพาหะของโรคระบาด จะดำเนินการออกใบอนุญาตนำสัตว์เข้ามาในราชอาณาจักร (แบบ ร.7) ให้แก่ผู้โดยสาร

3. ผู้โดยสารนำสัตว์เลี้ยงและใบอนุญาตฯ (แบบ ร.7) จากกรมปศุสัตว์ มาแสดงต่อเจ้าหน้าที่ศุลกากร ณ ช่องตรวจมีสิ่งของต้องสำแดง (Goods to declare) เพื่อชำระค่าภาษีอากรและรับใบเสร็จรับเงิน

 เอกสารสำหรับการขอ Import permit : 

1. สำเนา passport ของผู้เดินทาง หรือผู้ที่ทำการนำเข้าสัตว์เลี้ยง
2. ที่อยู่ประเทศต้นทาง และที่อยู่ที่ประเทศไทย
3. รายละเอียดของสัตว์เลี้ยง (เช่น พันธุ์, เพศ, อายุ, สี, microchip เป็นต้น)
4. เอกสารการฉีดวัคซีน (rabies vaccination etc.) ก่อนการเดินทางอย่างน้อย 21 วัน
5. รูปภาพของสัตว์เลี้ยง
6. รายละเอียดการเดินทาง (วัน, เวลา, flight ที่จะถึงประเทศไทย)
7.  ชื่อสนามบินที่ใช้ในการส่งออกสัตว์เลี้ยง
8. ไมโครชิฟ  **จำเป็น**
9. แนบเอกสาร ร.1-1

** สัตว์เลี้ยงทุกตัวที่นำเข้าประเทศไทยต้องได้รับการฝังไมโครชิพค่ะ **
- ส่วนเรื่องใบรับรองสุขภาพที่ต้องนำมายื่นต้องขอออกจากรัฐบาลโดยประเทศนั้นๆค่ะ 













วันอังคารที่ 2 ตุลาคม พ.ศ. 2561

พาน้องหมาไปอเมริกา


พาน้องหมาไปอเมริกา (กันยายน 2559)


ผู้เขียนและลูกชายเคยมีประสบการณ์จากการนำน้องหมาไปอยู่อเมริกา เมื่อปลายปี 2559 และนำกลับเข้ามาในประเทศไทยในต้นปี 2560 จากประสบการณ์ที่ได้มาอาจจะเป็นประโยชน์กับผู้อ่านได้บ้าง อย่างไรก็ตาม ก่อนการเดินทางช่วยหาข้อมูลเพิ่มเติมอีกทีนะคะ 


น้องหมาชื่อน้อง "ไข่ตุ๋น" สายพันธ์ ชิวาวา มีน้ำหนักแค่ 2.7 กิโลกรัม น้องหมาเดินทางพร้อมเจ้าของและนั่งไปบนเครื่องได้ เพราะ น้ำหนักน้องหมาและกระเป๋ารวมกันแล้วไม่เกิน 5 ก.ก หากเกินกว่านี้ต้อง Load ใต้เครื่องค่ะ

ก่อนออกเดินทางต้องหาข้อมูลและกฎต่าง ๆ อยู่หลายเรื่อง เช่น

             กฎของการนำน้องหมาออกจากประเทศไทย  
          กฎของการนำน้องหมาเข้าไปในประเทศอเมริกา 
          กฎของสายการบินที่ยอมให้นำน้องหมาขึ้นเครื่องได้ 
          การฉีดวัคซีนต่าง ๆ ให้น้องหมา 
          การฝังไมโครชิพ และ
          การหาขนาดกรงหรือกระเป๋าสำหรับใส่น้องหมาขึ้นเครื่อง

กฎของการนำสัตว์เลี้ยงออกจากประเทศไทย หาได้จาก ด่านกักกันสัตว์ท่าอากาศยานสุวรรณภูมิ (Suvarnabhumi Airport Animal Quarantine) ซึ่งมีสำนักงานตั้่งอยู่ที่
          อาคารตรวจสินค้าขาออก เขตปลอดอากร ชั้น 1 
         โทรศัพท์ 02-1340731 
         แฟกซ์    02 134 3640
        Email:  qsap_bkk@dld.go.th
         เวลาทำการ จันทร์-ศุกร์  0830-1200 น. และ 1300-1630 น.

วันอังคารที่ 18 กันยายน พ.ศ. 2561


ข้อดีของการเลี้ยงสุนัข
                 ครั้งแรกที่ลูกขอเลี้ยงน้องหมา ผู้เลี้ยงได้ปฎิเสธไปหลายครั้งด้วยความที่ไม่อยากมีภาระดูแล ไปไหนก็ไปไม่ค่อยได้ ต้องมาคอยเป็นห่วง  แต่เนื่องจากสงสารลูกที่มาร้องห่มร้องไห้ขอเลี้ยงน้องหมาเถอะ เขาจะเลี้ยงและดูแลเอง ด้วยความสงสารลูกจึงจำยอมให้เลี้ยงได้  จึงได้ไปซื้อน้องหมาสายพันธ์ ชิวาวา มาจากฟาร์มเลี้ยงหมาแห่งหนึ่ง และได้ตั้งชื่อให้เค้าว่า  ไข่ตุ๋น
                จากประสบการณ์ที่ผู้เลี้ยงได้เลี้ยงน้องไข่ตุ๋นมาหลายปี ความน่ารัก ช่างประจบ ว่านอนสอนง่าย ไม่ดื้อ ทำให้ผู้เลี้ยงรักและสงสารน้องไข่ตุ๋นมาก  เวลาจะไปไหนก็เป็นห่วง  เขาก็มาเป็นภาระจริง ๆ แต่ภายใต้ภาระนี้ก็ทำให้ลูก ๆ และทุกคนในบ้านรวมถึงผู้เลี้ยงเองด้วย มีความสุข มีความผ่อนคลายโดยไม่รู้ตัว บางครั้งที่เราอารมณ์เสีย หรือมีเรื่องอะไรเครียด ๆ มาจากข้างนอก แต่พอกลับมาบ้านได้เจอน้องไข่ตุ๋น ได้พูดคุยกับเค้า เค้าเข้ามาคลอเคลีย ช่วยให้เราได้ผ่อนคลายได้จริง ๆ 
                ช่วยให้หายจากอาการปวดหัว
                ในช่วงระยะเวลาหนึ่ง ลูกของผู้เลี้ยงไปเรียนในที่ห่างไกลจากบ้าน ผู้เลี้ยงต้องคอยถ่ายวีดีโอของน้องไข่ตุ๋น และส่งไปให้เค้าดูตลอด ลูกต้องเรียนหนักมาก บางครั้งที่เค้าเครียดจากการเรียนและมีอาการปวดหัว เค้าได้นำวีดีโอของน้องไข่ตุ๋นไปดู ทำให้เค้าหายจากอาการปวดหัวไปได้ 
          ช่วยบอกให้เรารู้ว่ามีคนมาบ้าน
                ทุกครั้งที่มีคนมาหน้าบ้าน ยังไม่ต้องกดกริ่ง  เค้าก็สามารถรู้ได้ จะเห่าเสียงดังและวิ่งมาหาเรา ยกมือไหว้ด้วย เห่าบอกด้วย จนเราต้องรีบเดินไปเปิดประตู จึงจะหยุดเห่า
                น้องหมาสามารถสื่อสารและรับรู้อารมณ์ของเราได้
                ผู้เขียนเคยขับรถและมีการหลงทางไปที่แห่งหนึ่ง ก็รู้สึกกลัวเพราะเป็นทางตันที่ไม่มีทางออก และเป็นเวลาค่ำคืนด้วย จึงรู้สึกกลัว ๆ  น้องไข่ตุ๋นที่นั่งอยู่ข้าง ๆ มีอาการณ์กระสับกระส่าย และร้อง ๆ เหมือนเค้ารู้ว่าเรากำลังกลัว เค้าสามารถรับรู้อารมณ์เราได้จริง ๆ
                ช่วยให้เราได้ออกกำลังกาย
                สิ่งที่น้องหมาชอบมากที่สุดคือการได้ออกนอกบ้าน การที่เราได้พาน้องหมาไปนอกบ้าน ไปเดินเล่น ทำให้เค้าได้ไปเปิดหูเปิดตา มีความสุขกับการที่ได้ไปกับเจ้าของ และสิ่งที่ได้มาก็คือเราเองก็ได้ได้ออกกำลังกายไปด้วย

                
สนิท สุธารส  ผู้เขียน


ควรใส่เสื้อผ้าให้น้องหมาหรือไม่

การเลี้บงสุนัขต้วเล็ก ๆ เช่น ชิวาวา เค้ามีความน่ารัก ช่างประจบ และอยากจะอยู่ใกล้ชิดกับเจ้าของอยู่เสมอ ๆ ทำให้เราเองมีความสุข และรู้สึกอบอุ่นเมื่อได้อุ้มเค้า การสวมใส่เสื้อผ้าให้สุนัขอาจมีความจำเป็นหรือไม่ขึ้นอยู่กับปัจจัยหลาย ๆ อย่าง เช่น สถานที่ อากาศ เวลาและอื่น ๆ อีกค่ะ

แรงบันดาลใจที่ผู้เขียนได้คิดตัดเสื้อผ้าน้องหมาขึ้นมาก็เพราะ  ผู้เลี้ยงและน้องหมาจะเดินทางไปอยู่ในอเมริกาเป็นเวลาเกือบ 6 เดือน ก่อนการเดินทางอันยาวไกล ก็ได้ไปหาซื้อเสื้อผ้าน้องหมาที่สวมใส่สบายและมีความอบอุ่นพอ หาซื้อชุดน้องหมามาได้ 2-3 ชุด แต่ละชุดก็ดูสวยงาม แต่ไม่มีความหนาพอที่จะทำให้น้องหมาอบอุ่นพอตลอดการเดินทาง 20 กว่าชั่วโมงได้  ผู้เขียนจึงนำความรู้ที่ได้เรียนตัดเสื้อของคนมาใช้ และได้ทดลองออกแบบตัดเสื้อผ้าน้องหมาขึ้นมาเอง โดยได้น้องหมาตัวนี้เป็นนางแบบ หลังจากตัดเสื้อน้องหมาได้สำเร็จลุล่วงใส่ได้พอดี ก็ได้นำวิชาจากการเรียนงานทำกระเป๋าแฮนด์เมดมาช่วยตบแต่งชุดน้องหมาให้ดูสวยงามยิ่งขึ้นอีก แถมก็ได้ปักชื่อน้องหมา "Kaitoon" (ไข่ตุ๋น) ไว้ที่ตัวเสือด้วย ซึ่งก็ได้นำมารใช้จริงในวันเดินทาง

การสวมใส่ชุดน้องหมามีความจำเป็น ถ้าให้เค้าอาศัยอยู่ในสถานที่ ๆมีเครื่องปรับอากาศ เพื่อให้ร่างกายเค้าได้รับความอบอุ่นพอ ผู้เขียนเองได้ให้น้องหมานอนอยู่ในห้องนอนด้วย ครั้งแรกไม่ได้ให้เค้าใส่เสื้อผ้า แต่ห่มผ้าให้เค้าแทน  ปรากฎว่า พอตื่นเช้าขึ้นทา ผ้าห่มไปกองอยู่ข้างที่นอน หูน้องหมาเย็น จึงรู้ว่าเค้าหนาว  หลังจากนั้นจึงได้สวมใส่เสื้อผ้าให้เค้าทุกครั้งที่อยู่ในที่ ๆ มีเครื่องปรับอากาศ

สินค้าที่ผู้เขียนจะนำมาเสนออาจมีไม่มากนัก เพราะจะเน้นถึงคุณภาพของเสื้อผ้า การตบแต่งที่ดูสวยงามน่ารัก ชุดที่สวมใส่สบายที่เหมาะกับอากาศในบ้านเรา

สินค้าที่นำมาเสนอเป็นสินค้าสำหรับน้องหมาชิวาวาค่ะ